สทร. ร่วมการเสวนา Rail Future: From Vision to Mission อนาคตระบบรางจากวิสัยทัศน์สู่พันธกิจ

วันที่ 16 ธันวาคม 2566 เวลา 9.00 น. ดร. กานต์รวี ทองพูล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (สทร.) นำทีมคณะวิทยากร สทร. ร่วมการเสวนา “Rail Future: From Vision to Mission อนาคตระบบรางจากวิสัยทัศน์สู่พันธกิจ” ณ เวทีหอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ภายใต้การประสานความร่วมมือโดยคณะระบบรางและการขนส่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน)

ภายในงานได้มีการจัดบูธแสดงนิทรรศการมหกรรมวิชาการ RMUTI EXPO 2023 หรือ RMUTI Expo: InnoTech FOR ALL by RMUTI งานแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อความยั่งยืน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-24 ธันวาคม 2566 ซึ่ง สทร. ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน ประธานจัดงาน ได้พาคณะวิทยากร สทร. เยี่ยมชมบรรยากาศงานโดยรอบ
สู่ช่วงเนื้อหาทางวิชาการ ได้มีวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Drone for Digital Solution นวัตกรรมการวิจัยและการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับ” บรรยายโดย นาวาอากาศเอก ศาสตราจารย์ ดร.ประสาทพร วงษ์คำช้าง เลขาธิการสมาคมอากาศยานไร้คนขับแห่งประเทศไทย (DAT) และตามด้วยการบรรยายเสวนาโดยคณะวิทยากร สทร. รายละเอียดการเสวนา ดังนี้

1. “พันธกิจ​ ภารกิจ​ ในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง​จาก​ Vision​ เป็น​ Mission​” โดย ดร. กานต์รวี ทองพูล รองผู้อำนวยการ และรักษาการแทนผู้อำนวยการ สทร.

2. “ยุทธศาสตร์ระบบรางกับบทบาทของภาคอีสานในการเป็น Hub Logistic ด้านระบบรางของประเทศ” โดย นายเทียนธวัช ศรีใจงาม นักวิเคราะห์วิชาการ

3. “Decarbonizing Rail Transport ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดในระบบราง” โดย ดร.ภัทรสุดา วิชยพงศ์ นักวิจัยวิชาการอาวุโส

4. “บทบาทเทคโนโลยีดิจิตัลเกิดใหม่กับการพัฒนาระบบราง” โดย นายธีรวัตร โพธิกุล รักษาการแทนผู้อํานวยการสำนักพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมเทคโนโลยีระบบราง

5. “ความสำคัญของระบบขนส่งทางรางและอาชีพที่ขับเคลื่อนการดำเนินงาน“ โดย นายปกรณ์ เกตุแย้ม รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ 

“คมนาคม เพื่อความอุดมสุขของประชาชน” เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประตูและศูนย์กลางการเดินทางของภูมิภาค ส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความมั่นคงของประเทศ รวมถึงตอบสนองความต้องการของประชาชนในการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการในระบบคมนาคมขนส่งในทุกมิติ ที่จะช่วยส่งเสริมให้การคมนาคมขนส่งทางรางเป็นโครงข่ายการเดินทางหลักของประเทศ (Backbone) รองรับการพัฒนาเมือง พื้นที่เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ

ซึ่งทำให้ สทร. มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุนการพัฒนาระบบรางตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคม ตลอดจนมีหน้าที่สำคัญในการวางยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบ

รางที่เหมาะสมต่อบริบทของประเทศไทย

Follow me!