‘สันติ เจริญพรพัฒนา’ ภารกิจของ สทร. กับความท้าทายบนเส้นทางการวิจัยและพัฒนา ‘ระบบรางไทย’
ภาพจำที่ประชาชนทั่วไปมอง รถไฟไทย และ ระบบรางไทย คงหนีไม่พ้นขบวนรถไฟที่เก่าแก่ที่ให้บริการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน แต่ถึงอย่างไร ทัศนคติต่อ รถไฟไทย ก็ยังคงเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยแม้จะต้องใช้เวลานานกว่าการเดินทางโดยวิธีอื่น ส่วนการขนส่งในเมืองหลวง อย่าง กรุงเทพมหานคร ก็มีการพัฒนาเชื่อมต่อกันทางระบบบรางทั้งด้วย รถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน ทำให้ผู้คนสะดวกสบาย ผ่อนคลายจากปัญหาการจราจรติดขัดได้มากขึ้น
อย่างไรก็ดี การขนส่งระบบราง ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อขนส่งคนเท่านั้น ทว่า ในหลายประเทศทั่วโลก ต่างอาศัยการขนส่งทางรางเป็นการลำเลียงสินค้า ผลิตภัณฑ์ ไปยังที่ต่างๆ ทั้งในและขนส่งออกนอกประเทศด้วย เพราะการขนส่งสินค้าโดยรถไฟสามารถขนส่งได้ในปริมาณมากกว่าการขนส่งโดยวิธีอื่นนั่นเอง
การพัฒนาการขนส่งระบบราง จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายการพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ โดยในแผนการพัฒนาการขนส่งระบบรางของประเทศ ได้ยกประเทศจีน และเกาหลีใต้ ที่มีการลงทุนพัฒนาการขนส่งระบบรางไปก่อนหน้าไทยและได้ดำเนินการพัฒนาระบบรางสู่ความยั่งยืนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่ดีที่ไทยควรดำเนินรอยตาม โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีระบบรางที่เป็นของเราเอง เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเอง จะทำให้การพัฒนาระบบรางที่อยู่ระหว่างกำลังดำเนินการ และจะขยายไปอีกอนาคตเกิดความยั่งยืนได้
จากความสำคัญที่กล่าวมานี้เอง ทำให้เกิดการจัดตั้ง สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) (สทร.) ในปี 2564 โดยมีภารกิจหลักที่สำคัญในการยกระดับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ระบบรางไทย ซึ่งในการพิชิตภารกิจสำคัญนี้ได้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหาร ของ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
ในวันนี้ผู้บริหารคนสำคัญ สันติ เจริญพรพัฒนา ผู้อำนวยการ สทร. จะได้มาบอกเล่าให้ฟังถึงภารกิจของ สทร. ในทุกมิติ รวมถึงจะแชร์ให้ฟังว่า อดีต ปัจจุบัน และทิศทางในอนาคตของการพัฒนาเทคโนโลยี ระบบรางไทย เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง ต่อจากนี้ไป
อ่านรายละเอียดของบทสัมภาษณ์ได้ ที่นี่
เผยแพร่ลงเว็บไซต์ 13 มีนาคม 2566