รายการ Apec Vision Connect – เดินทางปลอดภัยไร้รอยต่อด้วยระบบราง

Part1 – ความเป็นมาของ สทร.

สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) (สทร.) มีการจัดตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2564 จัดตั้งมาแล้วเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยมีหน้าที่หลักในวิจัยและพัฒนาเพื่อที่จะได้เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงช่วยสร้างความสามารถทางเทคโนลยีของผู้ประกอบการต่าง ๆ อีกด้วย

Part2 – เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะนำมาพัฒนาระบบรางของไทย

1.การเพิ่มเทคโนโลยีที่จะสามารถปรับปรุงจุดเชื่อมต่อจากต้นทางสู่ปลายทาง เนื่องจากระบบรางเป็นระบบขนส่งที่ดีและมีต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ แต่ติดปัญหาในส่วนของการเข้าถึง จึงจะต้องมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น

2.เรื่องของความปลอดภัยในระบบรางเป็นเรื่องสำคัญ การเกิดอุบัติเหตุครั้งหนึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากและปัญหาที่ตามมาจะเยอะ จึงต้องมีการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้การควบคุมการเดินรถและการบำรุงรักษาของระบบรางที่ทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.มีการรับฟังปัญหาจากผู้ใช้ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาปัญหาส่วนต่าง ๆ

Part3 – การพัฒนาระบบรางให้สอดคล้องกับ BCG Economy

การวิจัยแลพัฒนาพลังงานที่จะนำมาใช้ในการขับเคลื่อนรถไฟที่มีการปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด แต่ถ้าพูดถึงอนาคตก็จะเป็นเรื่องของไฟฟ้า ซึ่งมีข้อจำกัดในการลงทุนที่ค่อนข้างสูงมาก อีกพลังงานหนึ่งที่กำลังเป็นกระแสในช่วงนี้และก็เป็นที่นิยมมาก คือ Battery Power หรือเรามักจะเรียกว่า EV พลังของ Green Mobility หรือพลังของสิ่งแวดล้อมที่กำลังมีการผลักดันกันมา “ประเทศไทยจะเลือกอะไร แล้วถ้าวันหนึ่งจะเลือก ค่อยเลือกตอนนั้นจะไม่ทัน  และถ้าจะเลือกจะต้องเตรียมตัวอย่างไร”

Part 4 – ถ้าหากว่าวันหนึ่งระบบรางสมบูรณ์เต็มรูปแบบแล้ว คนไทยจะมีความหวังอะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง / สิ่งที่คาดหวัง
พอมีระบบรางที่เต็มรูปแบบ connectivity ก็จะมาตาม ผมอยากจะเห็นระบบรางของเราที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และผู้โดยสารหรือว่าคนส่งสินค้าสามารถเชื่อถือได้ว่าระบบรางของเราสามารถทำงานให้คุณได้อย่างเต็มที่ และจะทำอย่างไรที่ทำให้การลุงทุนสามารถที่จะเกิดการพัฒนาของประเทศ ในด้านของ local Content การสร้างอุตสาหกรรม ผมอยยากจะให้โอกาสนี้เป็นการสร้างอุตสาหกรรมระบบรางขึ้นในประเทศไทย

Follow me!